วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดำน้ำชมโลกใต้ทะเล 2

การดำน้ำแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การดำน้ำลึก (SCUBA) กับ การดำน้ำตื้น (SNORKELING)

การดำน้ำลึก
          การดำน้ำลึกมีอุปกรณ์สำคัญ ได้แก่ ท่อหายใจ ตีนกบ WET SUIT ตะกั่ว และมีข้อควรปฏิบัติ คือ
  • ใช้ตะกั่วให้สมดุลกับร่างกาย ปรับการลอยตัวอย่างเคร่งครัด และต้องรัดเข็มขัดตะกั่วให้เรียบร้อย หากตกลงไปจะทำให้ปะการังเสียหาย
  • ว่ายน้ำในแนวราบเสมอ รักษาระยะ ตามองข้างหน้า หรือก้มลง ตัวอยู่ห่างจากแนวปะการังพอสมควร อย่าพลิกตัว หรือตีลังกา เพราะถังอากาศอาจไปกระแทกโดนปะการัง
  • ควบคุมการใช้ตีนกบและเก็บอุปกรณ์ที่เป็นสายระโยงระยางให้เรียบร้อย
  • หลีกเลี่ยงการดิ่งลงสู่พื้นหากยังไม่ชำนาญพอ ควรค่อยๆ ไต่ลงไปตามสายสมอ
  • นักดำน้ำจะต้องมีบัตรที่แสดงว่าได้ผ่านการอบรมมาอย่างถูกวิธี จากสถาบันที่เชื่อถือได้
  • ไม่ควรดำน้ำตามลำพัง ตามกฎการดำน้ำสากลจะต้องมีคู่ดำน้ำ (BUDDY)
  • ต้องมีไดฟ์มาสเตอร์ (DIVE MASTER) ที่ชำนาญเป็นผู้นำในการดำน้ำเสมอ
  • ไม่สัมผัสสิ่งมีชีวิตใต้น้ำทุกชนิด
  • จอดเรือกับทุ่นจอดเรือของอุทยานแห่งชาติ หรือบริเวณที่อุทยานแห่งชาติกำหนด
เรื่องที่ท่านช่วยได้...
  • ไม่ควรยืนบนปะการัง หรือสัมผัสปะการัง เพราะโขดหินปะการังขนาดใหญ่ที่ดูแข็งแรง แต่ตัวของมันเป็นเพียงชีวิตเล็กๆ ที่อาจตายได้แค่เพียงถูกสัมผัส
  • ไม่เก็บสิ่งของจากท้องทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการัง กัลปังหา หรือแม้แต่สัตว์ทะเลอื่นๆ
  • ไม่ดำน้ำไล่ต้อนสัตว์ทะเล ควรเฝ้าดูอยู่ห่างๆ
  • ไม่ควรให้อาหารปลาและสัตว์ทะเลอื่น
  • หากพบขยะใต้ท้องทะเล ขอให้ช่วยเก็บขึ้นมาทิ้งบนเรือหรือบนฝั่ง
  • หลีกเลียงการเหยียบลงบนสัตว์ทะเลที่มีพิษ อาทิ หอยเม่น
  • ไม่ฝึกดำน้ำบริเวณที่มีปะการัง
จาก ... เอกสารเผยแพร่ "เที่ยวอุทยานแหงขาติ ฉบับหัวใจสีเขียว" กรมอุทยานแหงชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 

ดำน้ำชมโลกใต้ทะเล

การดำน้ำ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การดำน้ำตื้น (SNORKELING) กับ การดำน้ำลึก (SCUBA)

การดำน้ำตื้น (SNORKELING)
          การดำน้ำตื้นมีอุปกรณ์สำคัญ คือ หน้ากากดำน้ำ พร้อมท่อหายใจ เสื้อชูชีพ เพื่อจะได้ลอยตัวอยู่ได้นานๆ ตีนกบ เพื่อช่วยให้ว่ายน้ำได้เร็วขึ้น แต่หากไม่ได้ใช้เป็นประจำจะเสี่ยงกับการเป็นตะคริว นอกจากนี้ หากไมชำนาญพอก็อาจปัดโดนปะการัง หรือพัดทรายลอยฟุ้งขึ้นมาทับถมบนปะการัง ทำให้ปะการังตายได้

          ข้อปฏิบัติในการดำน้ำตื้น
  • ควรแน่ใจว่าอุปกรณ์มีขนาดพอเหมาะพอดีกับตัวเอง
  • การใส่หรือถอดหน้ากาก ท่อหายใจ และตีนกบ ให้กระทำบนเรือหรือทุ่นเทียบเรือ
  • ควรสวมเสื้อชูชีพ เพื่อสามารถลอยตัวได้นาน
  • ให้ทำความสะอาดหน้ากากด้วยน้ำทะเล เพื่อให้หน้ากากใสก่อนใส่
  • ให้สายรัดอยู่ด้านหลังศีรษะ และท่อหายใจอยู่ใต้หู
  • ให้อมปากท่อหายใจไว้ทั้งหมด และใช้ริมฝีปากปิดไว้ และหายใจด้วยปาก
  • การเคลียร์น้ำออกจากท่อหายใจให้เป่าลมหายใจออกจากปากแรงๆ
  • การเคลียร์หน้ากาก ให้หงายหน้าขึ้น และยกด้านล่างของหน้ากากให้น้ำไหลออก
  • หากใช้อุปกรณ์ไม่เป็นให้ผู้รู้สอนก่อน และลงน้ำในบริเวณน้ำตื้นที่ไม่มีปะการัง
  • ว่ายน้ำในแนวราบเสมอ หากเหนื่อยให้ลอยตัว
  • บริเวณที่ตื้น อย่าหย่อนขาเหยียบลงบนปะการัง
  • อย่าก้มหน้าก้มตาดูแต่ปะการัง ให้เงยหน้าบ้าง เพื่อดูว่าเราอยู่ที่ไหน กำลังปะทะอะไร
  • ระวังอย่าให้คลื่นซัดตัวเราเข้าหาโขดหินหรือเรือ
  • หากรู้สึกอ่อนเพลีย มึนศีรษะ ควรขึ้นจากน้ำก่อน  
เรื่องที่ท่านช่วยได้...
  • ไม่ควรยืนบนปะการัง หรือสัมผัสปะการัง เพราะโขดหินปะการังขนาดใหญ่ที่ดูแข็งแรง แต่ตัวของมันเป็นเพียงชีวิตเล็กๆ ที่อาจตายได้แค่เพียงถูกสัมผัส
  • ไม่เก็บสิ่งของจากท้องทะเล ไม่ว่าจะเป็นปะการัง กัลปังหา หรือแม้แต่สัตว์ทะเลอื่นๆ
  • ไม่ดำน้ำไล่ต้อนสัตว์ทะเล ควรเฝ้าดูอยู่ห่างๆ
  • ไม่ควรให้อาหารปลาและสัตว์ทะเลอื่น
  • หากพบขยะใต้ท้องทะเล ขอให้ช่วยเก็บขึ้นมาทิ้งบนเรือหรือบนฝั่ง
  • หลีกเลียงการเหยียบลงบนสัตว์ทะเลที่มีพิษ อาทิ หอยเม่น
  • ไม่ฝึกดำน้ำบริเวณที่มีปะการัง
    จาก ... เอกสารเผยแพร่ "เที่ยวอุทยานแห่งชาติฉบับหัวใจสีเขียว" กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช